ข้อที่ 1 ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ |
|
ข้อที่ 2 มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นในเรื่อง “ความรู้” หรือความเป็น
ผู้รู้จริง ก่อนที่จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนในทุกเรื่อง ทรงศึกษา
หาความรู้เป็นอันดับแรก โดยจะทรงค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ศึกษาอย่างละเอียด
ในแต่ละเรื่อง เมื่อพร้อมแล้วจึงลงมือทำ ทุกคนจึงควรเป็นผู้รู้จริงในการทำงานเพื่อให้ผลงานเป็นที่ยอมรับ และบังเกิดผลดีต่อทุกฝ่าย |
|
ตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่ทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือเรื่องความถูกต้องยิ่งกว่าสิ่งใด นอกจากนั้นยังทรงทนเผชิญปัญหานานัปการโดยรับสั่งว่าตามปกติโครงสร้างทั่ว ๆ ไปของสังคมจะเป็นรูปพีระมิด มีพระเจ้าแผ่นดินเปรียบเหมือนอยู่บนยอดพีระมิด แต่โครงสร้างของสังคมไทยเป็นพีระมิดหัวกลับ คือ พระเจ้าแผ่นดินแทนที่จะอยู่บนยอดกลับต้องมารองรับทุกอย่างที่ก้นกรวยแทน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล จึงกล่าวไว้ในหนังสือว่า “เพราะฉะนั้น เรื่องความอดทนนั้น ขอให้มองพระเจ้าอยู่หัวไว้แล้วพยายามทำตามให้ได้” |
|
|
|
|
ข้อที่ 3 ความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย และประหยัด |
|
ข้อที่ 4 มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก |
พระบรมฉายาลักษณ์ที่ประชาชนชาวไทยพบเห็นจนชินตาก็คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์สูทแบบเรียบง่าย สะพายกล้องที่พระศอ ในพระหัตถ์เต็มไปด้วยเอกสาร น้อมพระวรกายไปหาประชาชนเพื่อทรงสอบถามทุกข์สุขและปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และมักจะทรงประทับบนพื้นเดียวกันกับประชาชนเสมอ ข้าราชการจึงสมควรปฏิบัติตนในข้อนี้
ให้ได้ |
|
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยไม่ทรงคำนึงถึงพระวรกายเลยแม้แต่น้อย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เล่าไว้ในหนังสือว่า “เคยเข้าไปขอพระราชทานพร บอกวันนี้วันเกิดพระพุทธเจ้าค่ะ ขอพระราชทานพรพระราชทานว่าอย่างไร ขอให้มีร่างกายที่แข็งแรงเพื่อสามารถทำประโยชน์ให้กับคนอื่น
เขาได้ ขอให้มีความสุขจากการทำงาน และขอให้ได้รับความสุขจากผลสำเร็จของงานนั้น” เห็นได้ว่า ทุกสิ่งในพระราชดำริ และที่ทรงปฏิบัติเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมทั้งสิ้น |
|
|
|
ข้อที่ 5 รับฟังความเห็นของผู้อื่น และเคารพความคิดที่แตกต่าง |
|
ข้อที่ 6 มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร |
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือว่า ในโอกาสวันเฉลิมพระชนม
พรรษาปี 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเตือน
ทุกฝ่ายให้ “นั่งปรึกษาหารือกัน ฟังเขาแสดงเหตุแสดงผลออกมา แล้วเราแสดงเหตุแสดงผลออกไป แล้วดูซิเหตุผลอันไหนจะยอมรับได้ถูกต้องมากกว่า และเมื่อตกลงกันแล้วก็เลิกเถียงกันต่อลงมือปฏิบัติเลย”
โดยเฉพาะเมื่อจะทำอะไรให้นึกถึง “บ้าน” ซึ่งก็คือ “บ้านเมือง” หรือ
“แผ่นดินไทย” ให้มากที่สุด |
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นในเรื่องที่ทรงปฏิบัติมาก ทรงงานทุกวันไม่มีวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่มีกลางวัน กลางคืน และทรงเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านดนตรี ด้านกีฬา ด้านเกษตร และอื่น ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะข้าราชการจึงต้องมีจิตสำนึกในการบริการ มีความขยัน และตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อประชาชน |
|
|
|
ข้อที่ 7 มีความสุจริต และความกตัญญู |
|
ข้อที่ 8 พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง |
ทรงแสดงให้ประจักษ์ในเรื่องของความกตัญญูต่อพระราชมารดา
ต่อแผ่นดิน และต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะส่วนรวม ทรงเตือนให้ยึดสิ่งนี้ไว้เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็น มีความสำคัญ และมีคุณค่ายิ่ง |
|
พึ่งตนเอง หรือเศรษฐกิจพอเพียง คือ การวางเส้นทางชีวิตของตนเองให้เรียบง่าย ธรรมดา และเดินสายกลาง เป็นทฤษฎีสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือว่า “เศรษฐกิจพอเพียงนี้ พระเจ้าอยู่หัวบอกว่าคำที่สำคัญที่สุดในเรื่องราวที่อธิบายมานี้คือคำว่า “พอ” ทุกคนต้องกำหนดเส้นความพอให้กับตนเองให้ได้ และยึดเส้นนั้นไว้เป็นมาตรฐานของตนเอง” |
|
|
|
ข้อที่ 9 รักประชาชน |
|
ข้อที่ 10 การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักประชาชน และทำงานเพื่อประชาชน ครั้งหนึ่งมีรับสั่งกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลว่า ทรง “ทำราชการ”
ดังนั้น คนที่ “รับราชการ” ซึ่งถือว่า รับงานของราชามาทำต่อ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือต้องรักประชาชน และทำงานเพื่อประชาชน เฉกเช่นเดียวกับพระองค์ |
|
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือว่า “รู้ไหมบ้านเมืองอยู่รอดมาได้
ทุกวันนี้เพราะอะไร เพราะคนไทยเรายัง “ให้” กันอยู่” ทั้งนี้ เพราะคนในครอบครัวยังรักและดูแลกัน คนในชุมชนยังเอื้อเฟื้อกัน ข้าราชการยังให้บริการแก่ประชาชนและทุกคนยังรวมตัวช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งยาก
จะหาได้ที่ไหนในโลกนี้ |